กลุ่ม 40 ส.ว. เป็นการรวมตัวของสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) ทั้งที่มาจากการสรรหาและจากการเลือกตั้ง ส.ว. กลุ่มนี้ถูกมองว่าเป็นฝ่ายตรงข้ามกับ กลุ่ม 24 ตุลา 51 ที่มี ส.ว. ที่เป็นสมาชิกจำนวน 64 คน สนับสนุนการแก้ไขรัฐธรรมนูญ[ต้องการอ้างอิง]
เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2551 กลุ่ม ส.ว.สรรหาและ ส.ว.เลือกตั้งประมาณ 40 คน ร่วมหารือถึงการลงชื่อเพื่อเปิดอภิปรายทั่วไป ครม. สมัคร 1 โดยไม่ลงมติ ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 161
ส.ว. กลุ่มนี้มีลักษณะแนวทางไม่เห็นด้วยกับพรรคพลังประชาชนและพรรคเพื่อไทยที่มีการสนับสนุน พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ในช่วงวิกฤตการณ์การเมืองในประเทศไทย พ.ศ. 2548-2552 มีผลงานเด่น ๆ ได้แก่ เรียกร้องให้นายสมัครลาออกหรือยุบสภาหลังเกิดเหตุการณ์ นปช. ปะทะพันธมิตรฯ ที่ถนนราชดำเนิน , การยื่นวินิจฉัยกรณีจัดรายการชิมไปบ่นไปของนายสมัคร สุนทรเวช จนต้องพ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีจากคำพิพากษาของศาลรัฐธรรมนูญ เมื่อวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2551 , ลงชื่อคัดค้านการก่อสร้างรัฐสภาใหม่ที่เกียกกาย, ไม่เข้าร่วมประชุมรัฐสภา เพื่อรับฟังการแถลงนโยบายของรัฐบาลนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ และเรียกร้องนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ลาออกหรือยุบสภา เพื่อแสดงความรับผิดชอบต่อเหตุการณ์การสลายการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยด้วยความรุนแรงในวันที่ 7 ตุลาคม ที่หน้าอาคารรัฐสภา เคยยื่นศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยกรณีนายสมชายถือหุ้น บ.ซีเอส ล็อกอินโฟร์ จำกัด และยังได้คัดค้านการแก้ไข รธน.ปี 50 ไม่เห็นด้วยกับการตั้ง ส.ส.ร.3 เป็นต้น
ในวันที่ 14-16 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 ส.ว. ไพบูลย์ นิติตะวัน ได้ไปร่วมรายการ เจาะข่าวเด่น ของ สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 พร้อมกับชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ ดำเนินรายการโดย สรยุทธ สุทัศนะจินดา นายไพบูลย์ ยืนยันว่า นายกคนกลางที่ตนไม่สามารถเปิดเผยชื่อได้นั้น เมื่อเข้ามาดำรงตำแหน่ง จะสามารถแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ และความขัดแย้งได้ หากมีผู้ต่อต้าน ไม่ยอมรับ ก็จะสามารถจัดการกับปัญหาได้ นาย ไพบูลย์ ยืนยันว่าการแต่งตั้งนายกคนกลางนั้นเป็นเป็นไปตามมาตรา 7 ถ้าใช้มาตรา 7 ไม่ได้ ก็สามารถใช้อำนาจตามมาตรา 3 ของรัฐธรรมนูญได้ และเมื่อถูกซักถามจากนายชูวิทย์ ว่าที่จะปฏิรูป จะทำอะไรบ้าง? ในที่สุดนายไพบูลย์ จึงได้บอกรายละเอียดของการปฏิรูปคร่าวๆ ออกมาโดยกล่าวว่า
3. "เวลาเลือกตั้งเข้ามา ห้ามหาเสียงอะไรที่นอกจากการเป็น ส.ส. ทำหน้าที่นิติบัญญัติ คุณก็พูดแต่เรื่องกฎหมาย ไปพูดเรื่องบ้าเรื่องบออะไร 2 ล้านล้าน"
ซึ่งแบ่งเป็นประเด็นหลักๆ 3 ข้อ ซึ่งก็ถูกซักจากนายชูวิทย์ ว่าทำไม่ได้ในทางปฏิบัติ ไม่สามารถรับประกันการแก้ไขปัญหาได้ และเมื่อมองในรายละเอียดแล้วก็มีปัญหาจริง เช่น
ตามข้อ 1. ถึงนายทุนไม่ได้เป็นเจ้าของพรรค แต่พรรคก็ต้องทำตามมติพรรค ซึ่งจะโน้มเอียงไปตามความเห็นของหัวหน้าพรรคการเมืองอยู่ดี
ตามข้อ 2. หมายความว่า กกต. เป็นผู้หาเสียง และ พรรคการเมืองไม่มีสิทธิในการหาเสียง หมายความว่าหาก กกต. ไม่เป็นกลางอย่างแท้จริง อาจจะไม่หาเสียงให้พรรคการเมืองที่เป็นฝ่ายตรงข้ามกับตน
ตามข้อ 3. เป็นการยึดอำนาจบริหารจาก สภาผู้แทนราษฎรไทย และอนุญาตให้มีแค่อำนาจนิติบัญญัติเท่านั้น ซึ่งทำให้รัฐบาลไม่สามารถบริหาร หรือ ดำเนินโครงการพัฒนาประเทศใดๆ ได้
อ่านบทความฉบับสมบูรณ์ได้ที่ http://th.wikipedia.org/wiki/กลุ่ม_40_ส.ว.